.....ยินดีต้อนรับเข้าสู่เว็บบล็อก คุณธรรมจริยธรรม ของนายศรีสุทัศ กุลชาติ ครับ.....

วันพุธที่ 30 มกราคม พ.ศ. 2556

วันสำคัญของไทย


                 
วันสำคัญ หมายถึง วันที่เกิดเหตุการณ์สำคัญๆ ในอดีต และเพื่อเป็นการระลึกถึงความสำคัญของวันนั้นๆ  รัฐ /ชุมชน หรือหน่วยงาน จึงได้จัดให้มีพิธีการหรือกิจกรรมต่างๆ ขึ้น เพื่อเป็นการกระตุ้นเตือนให้ประชาชน หรือคนในสังคมได้ตระหนัก และระลึกถึงเหตุการณ์สำคัญในวันนั้น ด้วยความภาคภูมิใจ หรือเพื่อเป็นแบบอย่าง ในการประพฤติปฏิบัติที่ดีงามสืบทอดต่อกันมา ซึ่งวันสำคัญนี้ จะมีหลายระดับ เช่น ระดับบุคคล ได้แก่ วันเกิด วันแต่งงาน ระดับหน่วยงาน ได้แก่ วันสถาปนาของหน่วยงานนั้นๆ ระดับชาติ  ได้แก่ วันเฉลิมพระชนมพรรษา วันวิสาขบูชา และวันภาษาไทยแห่งชาติ  เป็นต้น และเพื่อให้เยาวชนของเราได้รู้จักวันสำคัญของไทย กลุ่มประชาสัมพันธ์ สำนักงานคณะกรรมการวัฒนธรรมแห่งชาติ กระทรวงวัฒนธรรม  จึงขอสรุปวันสำคัญๆ ที่ควรรู้จักในรอบปีให้ทราบดังนี้

วันศุกร์ที่ 18 มกราคม พ.ศ. 2556




ปรัชญาและคุณธรรมสำหรับครู และลักษณะครูที่ดี
        ปรัชญาและคุณธรรมสำหรับครู 
      ในความหมายของปรัชญาจัดว่าเป็นแนวอุดมคติในการดำเนินงานใด ๆ โดยใช้ปัญญา 

เพื่อให้บรรลุเป้าหมายตามที่คาดหวังไว้ เมื่อบุคคลได้เกิดความสนใจและใฝ่หาความรู้จากวิชาปรัชญาก็ย่อมได้รับอัตถประโยชน์อย่างมากมาย  พอสรุปได้ดังนี้
1. ปรัชญาสอนให้รู้จักความจริงอันสิ้นสุด เช่น พระเจ้ามีจริงหรือไม่
2. ปรัชญาสอนให้รู้จักทฤษฎีแห่งความรู้ เช่น การวิจัยจะนำไปสู่การค้นหาคำตอบได้
3.ปรัชญาสอนให้รู้จักความดีและความถูกต้อง  การทำประโยชน์ให้แก่สังคมถือว่าเป็นความดี
4. ปรัชญาสอนให้รู้จักความงาม เช่น การประพฤติปฏิบัติในสิ่งที่เป็นที่ชื่นชอบของสังคม อันก่อให้เกิดความเพลิดเพลินและเป็นสุขใจ
5. ปรัชญาสอนให้เกิดอุดมคติในการดำเนินชีวิตและการปฏิบัติหน้าที่การงาน
6.ปรัชญาสอนให้รู้จักประเมินคุณค่าในพฤติกรรมของบุคคลว่าถูกต้องและเหมาะสมหรือไม่
แหล่งอ้างอิง



       ศิลปะไทย เป็นเอกลักษณ์ของชาติไทย ซึ่งคนไทยทั้งชาติต่างภาคภูมิใจอย่างยิ่ง ความงดงามที่สืบทอดอันยาวนานมาตั้งแต่อดีต บ่งบอกถึงวัฒนธรรมที่เกิดขึ้น โดยมีพัฒนาการบนพื้นฐานของความเป็นไทย ลักษณะนิสัยที่อ่อนหวาน ละมุนละไม รักสวยรักงาม ที่มีมานานของสังคมไทย ทำให้ศิลปะไทยมีความประณีตอ่อนหวาน เป็นความงามอย่างวิจิตรอลังการที่ทุกคนได้เห็นต้องตื่นตา ตื่นใจ อย่างบอกไม่ถูก ลักษณะความงามนี้จึงได้กลายเป็นความรู้สึกทางสุนทรียภาพโดยเฉพาะคนไทยและศิลปะไทยยังตัดเส้นด้วยสีดำและสีน้ำตาลเท่านั้น


       ประวัติศาสตร์ (อังกฤษ: history; รากศัพท์ภาษากรีก ἱστορία หมายถึง "การสอบถาม ความรู้ที่ได้มาโดยการสอบสวน") เป็นการค้นพบ รวบรวม จัดระเบียบและนำเสนอข้อมูลเกี่ยวกับเหตุการณ์ในอดีต ประวัติศาสตร์ยังอาจหมายถึงช่วงเวลาหลังมีการประดิษฐ์ตัวอักษรขึ้น นักวิชาการผู้เขียนเกี่ยวกับประวัติศาสตร์เรียกนักประวัติศาสตร์ ประวัติศาสตร์เป็นสาขาการวิจัยซึ่งใช้การบรรยายเพื่อพิจารณาและวิเคราะห์ลำดับของเหตุการณ์[1][2] และบางครั้งพยายามสอบสวนรูปแบบของเหตุและผลซึ่งมีอิทธิพลต่อเหตุการณ์อย่างยุติธรรม นักประวัติศาสตร์ถกเถียงกันเรื่องธรรมชาติของประวัติศาสตร์และประโยชน์ของมัน ซึ่งรวมทั้งถกเถียงการศึกษาสาขาวิชาเป็นจุดจบในตัวมันเองและเป็นเสมือนวิถีการให้ "มุมมอง" ต่อปัญหาในปัจจุบัน[1][3][4][5] เรื่องเล่าซึ่งเป็นสิ่งธรรมดาในวัฒนธรรมใดวัฒนธรรมหนึ่ง แต่ไม่มีการสนับสนุนจากแหล่งข้อมูลภายนอก (เช่น ตำนานเกี่ยวกับกษัตริย์อาเธอร์) มักจัดเป็นมรดกทางวัฒนธรรมมากกว่า "การสอบสวนอย่างไม่นำพา" ที่จำเป็นตามสาขาประวัติศาสตร์[6][7] เหตุการณ์ในอดีตก่อนมีบันทึกลายลักษณ์อักษรเรียกว่า ก่อนประวัติศาสตร์